head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: จัดฟันบางนา: ทันตกรรม กับปัญหา ฟันผุ ที่เกิดจากหลายสาเหตุ  (อ่าน 36 ครั้ง)

siritidaphon

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 572
    • ดูรายละเอียด
จัดฟันบางนา: ทันตกรรม กับปัญหา ฟันผุ ที่เกิดจากหลายสาเหตุ

ทันตกรรม มีความสำคัญต่อการดูแลสุขภาพปากและฟัน และหากจะพูดถึงโรคทางทันตกรรม โรคหนึ่ง โดยเฉพาะในวัยเด็ก ก็คือ โรคฟันผุ โดยการที่ฟันถูกทำลาย ทำให้เป็นรูหรือโพรง การทำลายนี้จะเป็นไปเรื่อย ๆ โดยร่างกายไม่สามารถซ่อมแซมฟันส่วนที่ทำลายไปให้กลับเป็นปกติเหมือนเดิมได้

ลักษณะอาการของโรคฟันผุ ในระยะเริ่มแรกจะพบเป็นรอยสีดำตามหลุมและร่องฟัน ไม่มีอาการเมื่อการผุลุกลามมากขึ้น จะทำให้เป็นรูและมีอาการเสียวฟันเมื่อรับประทานของเย็นจัด จนกระทั่งเกิดอาการปวดฟัน เมื่อรูผุถึงประสาทฟัน ถ้าปล่อยทิ้งไว้ ฟันจะผุจนกระทั่งเหลือแต่รากฟันฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกร ซึ่งอาจจะเกิดฝี หนองที่ปลายรากฟันเป็นช่องทางให้เชื้อโรคแพร่กระจายไปสู่ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้

สาเหตุของฟันผุ คือ น้ำตาลในอาหารที่เรารับประทาน น้ำตาลจะถูกเชื้อแบคทีเรียในแผ่นคราบจุลินทรีย์ที่ยึดติดบนผิวฟัน เปลี่ยนให้เป็นกรดอย่างรวดเร็ว และแผ่นคราบจุลินทรีย์นี้จะเป็นแหล่งให้เกิดกรดมาสัมผัสกับตัวฟันอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งทำให้ฟันถูกกัดกร่อนทำลายเป็นรูผุ

การรักษา ฟันผุที่ลุกลามผ่านขั้นเคลือบฟันไปถึงขั้นเนื้อฟัน ต้องรักษาโดยการอุดฟัน แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ให้ฟันผุลุกลามไปถึงชั้นในโพรงประสาทฟัน การรักษาจะยุ่งยากขึ้น คือต้องรักษาคลองรากฟันก่อนที่จะอุดฟัน หรือบางครั้งอาจจะต้องถอนฟันออกไป เพราะการผุทำลายฟันไปมากจนเหลือแต่รากฟัน
เมื่อใดที่ควรไปพบแพทย์

โดยปกติแล้ว ทุกคนควรไปพบทันตแพทย์เป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ในเด็ก และ 1 ครั้งในทุก ๆ 2 ปี สำหรับผู้ใหญ่ที่อายุ 18 ปีขึ้นไป เพื่อตรวจรักษาดูแลสุขภาพฟันอยู่เสมอ แต่หากมีอาการอย่างปวดฟัน ปวดบวมภายในปาก ควรรีบไปพบทันตแพทย์ให้เร็วที่สุด

การตรวจวินิจฉัยฟันผุ

เมื่อไปพบทันตแพทย์ แพทย์สามารถวินิจฉัยฟันผุได้ด้วยอาการเบื้องต้นจากการซักถามเกี่ยวกับอาการปวดฟัน เสียวฟัน ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมา และใช้อุปกรณ์เพื่อตรวจสอบภายในช่องปากและฟัน หากต้องการตรวจหาฟันผุที่เชื่อมโยงกับปัญหาการเจ็บป่วยอื่น ๆ แพทย์อาจแนะนำให้เอกซเรย์ช่องปากเพิ่มเติมต่อไป เพื่อดูการผุของฟันและบริเวณฟันที่เกิดความเสียหาย โดยแพทย์จะแจ้งให้ทราบถึงชนิดของฟันผุที่เกิดขึ้น ได้แก่ การผุบริเวณผิวฟันที่ค่อนข้างเรียบ การผุในหลุมร่องฟัน และการผุไปจนถึงรากฟัน

รับมือปัญหาที่เกิดจากฟันผุ

เมื่อเกิดฟันผุ และเริ่มมีสัญญาณของความเจ็บปวดบริเวณเหงือกและฟัน ในเบื้องต้นให้ใช้ผ้าบาง ๆ ห่อน้ำแข็ง หรือใช้ถุงประคบเย็นประคบไว้บริเวณแก้มครั้งละประมาณ 10-15 นาที วันละหลาย ๆ ครั้ง เพื่อบรรเทาอาการปวด และสามารถรับประทานยาแก้ปวดที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป อย่างพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเฟน โดยต้องใช้ยาอย่างถูกต้องตามวิธีการและตามปริมาณที่เหมาะสมกับอายุผู้ป่วยที่ถูกระบุไว้บนฉลากยาเสมอ จากนั้น ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาฟันผุและรับการรักษาในขั้นต่อไป

การป้องกันฟันผุ

-เรื่องสุขอนามัยในช่องปาก ได้แก่การแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และการใช้ไหมขัดฟัน
-จะต้องปรับเปลี่ยนเรื่องอาหารได้การลดอาหารหวานหรือจำพวกแป้ง จะต้องลดความถี่ของการรับประทานของหวานลง นอกจากนั้นอาหารหวานที่ติดฟัน เช่นลูกผม หรือผลไม้แห้งจะติดฟันได้นานซึ่งจะทำให้ฟันอยู่ในสภาวะที่เป็นกรดนาน
-สำหรับเด็กไม่ควรจะให้อมหัวนมจะหลับเพราะจะทำให้เกิดฟันผุ
-การอมหมากฝรั่งที่มีส่วนผสมของ Xylitol จะลดการเกิดฟันผุ เนื่องจากสารนี้จะยับยั้งการใช้น้ำตาลของเชื้อแบคทีเรีย
-การให้แคลเซี่ยมและฟลูออไรด์ก็จะลดการเกิดฟันผุ

การรักษาฟันผุ
ขึ้นกับความลึกและโครงสร้างของฟันถูกทำลายไปมากน้อยแค่ไหนซึ่งขึ้นกับทันตแพทย์จะพิจารณา