head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: หมอประจำบ้าน: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)  (อ่าน 3 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 458
    • ดูรายละเอียด
หมอประจำบ้าน: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
« เมื่อ: วันที่ 11 กันยายน 2024, 17:53:29 น. »
หมอประจำบ้าน: ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)

Hypokalemia คือ ภาวะที่มีโพแทสเซียมในเลือดต่ำกว่าปกติ อาจทำให้ผู้ป่วยท้องผูก อ่อนล้า กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือกล้ามเนื้อกระตุก ภาวะนี้อาจเกิดจากการอาเจียนอย่างหนัก ท้องเสียหลายครั้ง ใช้ยาขับปัสสาวะหรือยาระบายมากเกินไป ทำให้ไตขับโพแทสเซียมออกจากร่างกายมากเกินไป

โพแทสเซียม คือ แร่ธาตุอิเล็กโทรไลต์ที่มีส่วนในการส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น เซลล์ประสาทและเซลล์กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ และโพแทสเซียมส่วนเกินจะถูกไตขับออกทางระบบทางเดินปัสสาวะ เพื่อรักษาสมดุลในร่างกาย ซึ่งระดับปกติของปริมาณโพแทสเซียมในเลือดอยู่ที่ 3.6-5.2 มิลลิโมล/ลิตร ส่วนผู้ป่วย Hypokalemia จะมีระดับโพแทสเซียมต่ำกว่า 3.5 มิลลิโมล/ลิตร

อาการของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

ลักษณะและความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ขึ้นอยู่กับระดับของโพแทสเซียมในเลือด หากโพแทสเซียมลดลงเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยอาจยังไม่ปรากฏอาการใด ๆ หรืออาจมีอาการไม่รุนแรงนัก เช่น

    ท้องผูก
    อ่อนล้า
    กล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือปวดเกร็ง
    เป็นเหน็บชา

หากระดับโพแทสเซียมในเลือดลดลงต่ำมาก ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงขึ้น จนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เช่น

    หน้ามืด
    เป็นลม
    ภาวะลำไส้อืด
    ภาวะหายใจล้มเหลว
    สูญเสียเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ
    เป็นอัมพาต
    ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น หัวใจห้องบนหรือห้องล่างเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
    หัวใจหยุดเต้น เมื่อมีปริมาณโพแทสเซียมต่ำมากเกินไป


สาเหตุของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

สาเหตุหลักของ Hypokalemia คือ การใช้ยาขับปัสสาวะ ซึ่งมักใช้ในผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูง และผู้ป่วยโรคหัวใจ จนอาจทำให้ร่างกายสูญเสียโพแทสเซียมปริมาณมาก

นอกจากนี้ Hypokalemia อาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่น ๆ ได้ เช่น

    อาเจียนหรือท้องเสียอย่างหนัก
    ใช้ยาปฏิชีวนะบางชนิด
    ใช้ยาระบายมากเกินไป หรือติดต่อกันนานเกินไป
    ใช้ยาหอบหืดบางชนิด
    เหงื่อออกมากเกินไป
    ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
    ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ
    ระดับแมกนีเซียมต่ำ
    ขาดกรดโฟลิก
    โรคไตเรื้อรัง
    ภาวะกรดในเลือดสูงจากเบาหวาน (Diabetic Ketoacidosis)
    ภาวะอัลโดสเตอโรนสูงชนิดปฐมภูมิ (Primary Aldosteronism) ซึ่งทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นจากความผิดปกติของฮอร์โมน
    กลุ่มอาการคุชชิง (Cushing's Syndrome) ซึ่งเกิดจากร่างกายมีฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoid) หรือคอร์ติซอล (Cortisol) มากกว่าปกติ
    อาการป่วยอื่น ๆ เช่น กลุ่มอาการจิเทลแมน (Gitelman Syndrome) กลุ่มอาการลิดเดิล (Liddle Syndrome) กลุ่มอาการบาร์ตเตอร์ (Bartter Syndrome) กลุ่มอาการแฟนโคนี (Fanconi Syndrome) ซึ่งเป็นโรคความผิดปกติของไต แต่มีโอกาสเกิดโรคเหล่านี้ได้ไม่มากนัก

การวินิจฉัยภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

แพทย์จะวินิจฉัยภาวะ Hypokalemia ด้วยการซักประวัติผู้ป่วย และสอบถามอาการที่ปรากฏร่วมกับการอาเจียนหรือท้องเสีย จากนั้น แพทย์จะตรวจร่างกาย และตรวจเลือด เพื่อหาความผิดปกติของระดับโพแทสเซียม รวมทั้งแร่ธาตุอื่น ๆ ในร่างกาย เช่น กลูโคส แมกนีเซียม แคลเซียม โซเดียม ฟอสฟอรัส ไทรอยด์ฮอร์โมน และอัลโดสเตอโรนฮอร์โมน เป็นต้น

หลังจากนั้น แพทย์อาจทำการทดสอบอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น

    ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
    ตรวจปัสสาวะหาอัลโดสเตอโรน คอร์ติซอล โซเดียม และโพแทสเซียมใน 24 ชั่วโมง
    ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์ในผู้ป่วยที่หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

การรักษาภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

วิธีรักษา Hypokalemia คือ ลดการเสียโพแทสเซียม เสริมโพแทสเซียมเข้าสู่ร่างกายในปริมาณที่เหมาะสม และหาสาเหตุของการป่วย เพื่อรักษาและป้องกันอาการป่วยได้อย่างถูกจุด ซึ่งการรักษาอาจขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ Hypokalemia ด้วย หากอาการไม่รุนแรงมาก อาจรักษาได้โดยใช้โพแทสเซียมชนิดรับประทาน หรือบริโภคอาหารเสริมโพแทสเซียม โดยผู้ป่วยต้องปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

บางกรณี แพทย์อาจต้องหยอดโพแทสเซียมเข้าทางหลอดเลือดดำ หากผู้ป่วยใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมแล้วปริมาณโพแทสเซียมในเลือดไม่สูงขึ้น ระดับโพแทสเซียมของผู้ป่วยต่ำมากถึงขั้นวิกฤติ หรือระดับโพแทสเซียมของผู้ป่วยต่ำมากจนอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ เป็นต้น

นอกจากนี้ ผู้ป่วยภาวะ Hypokalemia อาจรักษาและป้องกันภาวะนี้ได้ด้วยการบริโภคอาหารที่มีโพแทสเซียมสูง เช่น

    ส้ม
    กล้วย
    มะเขือเทศ
    แครอท
    อะโวคาโด
    ผักโขม
    รำข้าว
    จมูกข้าวสาลี
    สาหร่ายทะเล
    เนยถั่ว
    มันฝรั่งอบ
    นม
    ปลาแซลมอน
    เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน และปรุงสุก

อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อนเสมอ หากจะหยุดใช้ยาชนิดใด หรือจะใช้อาหารเสริมโพแทสเซียมด้วยตนเอง เนื่องจากผู้ป่วยอาจได้รับโพแทสเซียมในปริมาณมากเกินไป และเสี่ยงทำให้เกิดภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูงขึ้นจนเป็นอันตรายได้
ภาวะแทรกซ้อนของภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

ผู้ป่วย Hypokalemia อาจมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

    ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับหัวใจ Hypokalemia ส่งผลกระทบต่อการเต้นของหัวใจ หากไม่รักษาอาจเสี่ยงทำให้หัวใจหยุดเต้นและเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
    ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง โดยเฉพาะผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษ และอาจทำให้กล้ามเนื้อถูกทำลายได้
    ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร อาจเกิดภาวะลำไส้อืดรุนแรงได้ จากการลดอัตราการเคลื่อนไหวของลำไส้
    ภาวะแทรกซ้อนเกี่ยวกับการเผาผลาญอาหาร อาจส่งผลต่อการควบคุมระดับกลูโคสในร่างกาย จากการลดการหลั่งอินซูลิน และลดความไวของอวัยวะต่ออินซูลิน

ยิ่งไปกว่านั้น แม้อาการของ Hypokalemia จะไม่รุนแรงมากนัก แต่ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนสูง โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะหัวใจล้มเหลว หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือเคยหัวใจวายมาก่อน ดังนั้น ผู้ป่วยกลุ่มนี้จึงควรรักษาระดับโพแทสเซียมในเลือดให้อยู่ที่ 4 มิลลิโมล/ลิตร เสมอ
การป้องกันภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ

วิธีการป้องกัน Hypokalemia มีดังนี้

    ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์ทันที หากอาเจียนหรือท้องเสียติดต่อกันเป็นเวลานาน
    ผู้ที่มีความเสี่่ยงในการเกิด Hypokalemia ควรบริโภคอาหารที่มีปริมาณโพแทสเซียมสูง เช่น มะเขือเทศ ส้ม และกล้วย เป็นต้น
    หากกำลังใช้ยา หรือกำลังป่วยด้วยโรคที่อาจทำให้โพแทสเซียมในเลือดต่ำ ควรรักษาดูแลอาการอย่างสม่ำเสมอ ไปพบแพทย์ตามนัดหมาย และปรึกษาแพทย์เมื่อมีข้อสงสัย เพื่อป้องกันการเกิดภาวะ Hypokalemia