head prakardsod






























































ผู้เขียน หัวข้อ: ใครบ้างที่ต้องให้ อาหารสายยาง ?  (อ่าน 42 ครั้ง)

siritidaphon

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 459
    • ดูรายละเอียด
ใครบ้างที่ต้องให้ อาหารสายยาง ?
« เมื่อ: วันที่ 11 สิงหาคม 2024, 14:45:59 น. »
ใครบ้างที่ต้องให้ อาหารสายยาง ?

การให้อาหารทางสายยาง ยังเป็นการใส่สายยางให้อาหารผ่านทางรูจมูก จนถึงกระเพาะอาหารสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ หรือผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัว หมดสติ และมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับสารอาหาร ซึ่งอาหารที่จะนำไปให้กับผู้ป่วยนั้นเป็นลักษณะอาหารปั่นผสม ที่มีคุณค่าทางสารอาหารครบถ้วนตามหลัก 5 หมู่ รวมไปถึงปริมาณของอาหารปั่นผสมที่จะนำไปให้แก่ผู้ป่วย จะต้องมีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายของผู้ป่วยในแต่ละมื้อโดยผู้ป่วยจะไม่ต้องบดเคี้ยวหรือกลืนอาหาร


นั่นเพราะอาหารจะถูกผ่านไปยังสายยางให้อาหารเพื่อเข้าสู่กระเพาะอาหารแต่ทั้งนี้ระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมอาหารของกระเพาะอาหารของผู้ป่วยนั้น จะต้องยังคงทำงานตามปกติหรือมีประสิทธิภาพในการย่อยอาหารเหมือนกับการรับประทานอาหาร การเคี้ยวอาหาร จึงจะสามารถให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพอย่างไรก็ตามอาหารทางสายยางนั้นถือว่ามีความจำเป็นเพราะจะช่วยป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จากภาวการณ์เจ็บป่วย หรือแม้กระทั่งการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยเกิดภาวะขาดสารอาหาร ซึ่งการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วยนั้น จะต้องกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการอบรม หรทอการทดลองให้อาหารทางสายยางมาแล้ว ซึ่งผู้ดูแลผู้ป่วยจะต้องมีความรู้พื้นฐานในการให้อาหารทางสายยาง รวมไปถึงรู้จักวิธีการแก้ไขปัญหาหากเกิดปัญหาหรืออุปสรรคขณะการให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย เพราะปัญหาบางอย่างนั้นจะต้องรีบแก้ไขโดยทันที เพราะถ้าหากปล่อยไว้อาจทำให้เกิดอันตรายแก่ผู้ป่วยได้


สำหรับการให้อาหารทางสายอย่าง หลายคนสงสัยว่า ใครบ้างที่ควรได้รับการให้อาหารทางสายยางให้อาหาร ซึ่งผู้ป่วยที่ควรได้รับสารอาหารทางสายยางมากที่สุดคือ บุคคล ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่มีปัญหาในช่องปาก ช่องคอ จนเกิดปัญหาของการกลืนอาหาร การดื่มน้ำ และไม่สามารถรับประทานอาหารเองได้ทางปาก เช่น ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งในช่องปาก มะเร็งหลอดอาหาร อัมพฤกษ์ อัมพาต รวมไปถึงผู้ป่วยที่ไม่รู้สึกตัวสติเช่น ผู้ป่วยนอนติดเตียง ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ แต่ในกลุ่มผู้ป่วยติดเตียงนั้น จะมีปัญหาคือในเรื่องของระบบการย่อยอาหารเพราะการเคลื่อนไหวมีผลต่อระบบการย่อยอาหารของผู้ป่วย


ถ้าหากผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวหรือทำให้ผู้ป่วยอยู่ในท่านั่ง หรือเปลี่ยนท่าบ่อยๆ ก็จะส่งผลให้ระบบการย่อยอาหารทำหน้าที่ตามปกติ ซึ่งการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยที่นอนติดเตียงนั้นก็ถือว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะถ้าผู้ป่วยนอนอยู่ในท่าเดิมนั้นนานๆ อาจจะทำให้เกิดแผลกดทับซึ่งก็จะส่งผลอื่นๆตามมาอีกมากมาย เพราะการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยที่หมดสติและต้องให้อาหารทางสายยางนั้น จะต้องดูแลเอาใจใส่ให้มากกว่าพิเศษต้องหมั่นคอยระวัง คอยสังเกตอาการผิดปกติต่างๆ ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการผิดปกติหรือมีสัญญาณบ่งบอกว่าผู้ป่วยกำลังจะเกิดแผลกดทับให้รีบแจ้งแพทย์ทันทีเพื่อรับการแก้ไขอย่างถูกวิธี เพราะจะต้องมีการระมัดระวังเป็นอย่างมาก


นอกจากนี้ในเรื่องของอาหารที่จะนำไปให้แก่ผู้ป่วย ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ต้องคำนึงถึงความสะอาดความปลอดภัย เพราะอาหารเพื่อผู้ป่วยนั้น จะต้องมีการระมัดระวังในเรื่องของปริมาณของวัตถุดิบซึ่งจะต้องมีการควบคุมโดยนักโภชนาการผู้เชี่ยวชาญในเรื่องของอาหารเพื่อผู้ป่วย เพราะจะต้องกำหนดปริมาณที่เหมาะสม จะต้องมีการคำนวณในเรื่องของพลังงานที่ผู้ป่วยจะได้รับว่ามีความเพียงหรือไม่ รวมไปถึงเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการให้อาหารทางสายยางในส่วนนี้จะเป็นหน้าที่ของผู้ดูแลผู้ป่วยที่จะต้องคอยทำความสะอาดและคอยตรวจสอบอุปกรณ์ว่ามีความถูกต้องหรือไม่


ซึ่งในเรื่องของอุปกรณ์นั้น ความสะอาดถือเป็นเรื่องสำคัญ เพราะสิ่งของเครื่องใช้ทุกอย่างในการให้อาหารทางสายอย่างจะต้องมีการผ่านกระบวนการการฆ่าเชื้อเพื่อให้อุปกรณ์และเครื่องมือมีความสะอาดเหมาะสมกับจะให้อาหารทางสายยางแก่ผู้ป่วย เพราะเครื่องมือจะต้องนำไปบรรจุอาหาร ถึงแม้ว่าอาหารจะมีความสะอาดถูกหลักอนามัย แต่ถ้าเครื่องมือสกปรกก็ส่งผลเสียแก่ผู้ป่วยได้เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นการดูแลผู้ป่วยที่ต้องให้อาหารทางสายอย่างจะต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยหลายหลายอย่าง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับสารอาหารที่ถูกต้องและสะอาดปลอดภัยเพื่อให้ร่างกายกลับมามีสุขภาพแข็งแรงเหมือนเดิม