ดูแลตนเองอย่างไร ให้ห่างไกลจากโรคมะเร็งโรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้ก่อเป็นเนื้อร้ายแพร่ไปยังอวัยวะของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายทางน้ำเหลือง หรือการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ไกลออกไป ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เริ่มแสดงอาการ
ด้วยพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพสังคมในปัจจุบัน ที่แข่งขันเร่งรีบและการรับประทานอาหารไม่ถูกหลัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ย่อมต้องส่งผลต่อคุณภาพชีวิต และสุขภาพอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ เป็นเหตุให้ประชากรทั่วโลกเจ็บป่วย ก่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
โรคมะเร็ง เป็นโรคที่เกิดขึ้นจากการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างควบคุมไม่ได้ ทำให้ก่อเป็นเนื้อร้ายแพร่ไปยังอวัยวะของร่างกายในส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพร่กระจายทางน้ำเหลือง หรือการแพร่กระจายไปยังเนื้อเยื่อที่อยู่ไกลออกไป ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้เริ่มแสดงอาการ ตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีอาการของมะเร็งปอด ผู้ป่วยอาจแสดงอาการไอหรือเริ่มมีอาการปอดอักเสบ, อาการของผู้ที่เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่อาจมีการถ่ายอุจจาระที่ผิดปกติ หรือผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมจะคลำพบก้อนแข็ง ๆ บริเวณเต้านม เป็นต้น
ถึงแม้โรคมะเร็งจะเกิดจากหลายสาเหตุทั้งที่สามารถป้องกันได้และไม่สามารถป้องกันได้ แต่เมื่อคุณยังไม่เจอกับภาวะโรคร้ายนี้ ทางที่ดีก็ควรดำเนินชีวิตให้ห่างไกลจากความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดเนื้อร้าย และสิ่งสำคัญหากคุณสงสัยว่ามีอาการผิดปกติที่เข้าข่ายจะเป็นอาการของโรคมะเร็งควรรีบพบแพทย์เพื่อจะได้ทำการรักษาได้ตั้งแต่ระยะแรกรซึ่งยังมีโอกาสที่จะหายจากโรคร้ายนี้ได้
10 วิธีลดความเสี่ยงมะเร็ง
เลิกบุหรี่
ในแต่ละปี มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดต่าง ๆ ทั้งหมด ดังนั้นหากคุณติดบุหรี่ การเลิกสูบเสียแต่วันนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญ ที่สุดที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่น ๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ เลิกบุหรี่อาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่คุณสามารถขอคำปรึกษาถึงวิธีการเลิก แบบต่างๆ จากแพทย์ได้ ทั้งการรักษาด้วยยาหรือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งวิธีการเหล่านี้ จะช่วยทำให้คุณเลิกบุหรี่ได้อย่างถาวร
ทานอาหารที่มีประโยชน์
หลายคนคงยังจำได้ดีเวลา ถูกพ่อแม่บังคับให้กินผักและก็คง ไม่ได้คิดว่า พวกท่านจะทราบอะไรดี ๆ ที่พวกเราไม่รู้ แต่การถูกบังคับให้กินผักนี้ กลับเป็นประโยชน์ล้นเหลือ ต่อตัวเราเอง เพราะผักจำพวก บร็อคโคลี่ กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี และกะหล่ำดาวที่น้อยคนจะโปรดปรานนั้น กลับอุดม ไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งเป็นส่วน ประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียวก็ได้ชื่อว่าอุดมไปด้วยสาร ต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับ ไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน ซึ่งสาร ต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วย ร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจ กลายเป็นเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม ควรเลือกรับประทานแต่พอประมาณ
ออกกำลังกายให้มากขึ้น
การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็ง เต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ การออกกำลังกาย ในที่นี้ไม่จำเป็น ต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบนักกีฬาการเล่นโยคะ เดินหรือเต้นแอโรบิก ก็ถือเป็นการ ออกกำลังกายที่ช่วยต่อสู้กับ มะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้คุณเป็น โรคอ้วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด
ตรวจและหาให้เจอแต่เนิ่นๆ
มีหลักฐานยืนยันมากมายจนไม่อาจปฏิเสธว่า ยิ่งตรวจพบมะเร็งเร็วขึ้นเท่าไร โอกาสที่จะ รักษาจนหายก็มีมากขึ้นเท่านั้น และ การตรวจเจอแต่เนิ่นๆ ก็ยังช่วยให้ การรักษาฟื้นฟู ทำได้เร็วขึ้นโดย มีผลข้างเคียงน้อยลง ดังนั้น เพื่อเพิ่มโอกาสในการเอาชนะมะเร็งควร ตรวจร่างกายอย่าง สม่ำเสมอและขอคำแนะนำ จากแพทย์เรื่องการตรวจ คัดกรองมะเร็ง ที่เหมาะกับวัยของคุณ (เช่น ผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไปควร ทำแมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม) แม้มะเร็งอาจไม่แสดงอาการใน ระยะเริ่มแรก แต่การตรวจคัดกรองที่ เหมาะสมช่วยให้สามารถพบมะเร็งได้เกือบทุกชนิด
ดื่มแต่พอดี
การดื่มแอลกอฮอล์ที่มากเกินไปเป็นผลร้ายต่อตับมากเป็นพิเศษ การดื่มแอลกอฮอล์ (โดย เฉพาะหากคู่มากับการสูบบุหรี่)เป็นสาเหตุ หลักในการเกิดมะเร็งช่องปากและลำคอ อีก ทั้งมีส่วนเกี่ยวพันกับมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วย แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรค หัวใจดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่หากคุณสามารถจำกัดการดื่มลงให้เหลือ แค่ 2 แก้วต่อวันจะเป็นการดีที่สุด
มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยไม่เพียงช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เท่านั้น แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญ ในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีวิตของผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก เชื่อกันว่ ประมาณร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจาก Human Papillomavirus (HPV) ที่สำคัญ เชื้อ HPV นี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็น มะเร็งที่ทวารหนักและอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนา วัคซีนชนิดใหม่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV และได้รับการ รับรองให้ใช้ได้
หลีกเลี่ยงแสงแดด
รังสีอัลตร้าไวโอเล็ต (ยูวี) ในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของ มะเร็งผิวหนัง ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถป้องกันได้ง่ายๆ 2 วิธี คือ ใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปเมื่อต้องอยู่กลางแจ้งและพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสง แดดโดยตรงในช่วง เวลา 10.00 - 16.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้ม สูงสุด
นอนหลับให้สนิท
ผลการศึกษาพบว่าสารเมลาโทนิน ซึ่งเป็นฮอร์โมน ที่สมองผลิตใน ระหว่าง การนอนหลับมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับมะเร็ง แต่เมลาโทนินจะช่วยป้องกัน มะเร็งได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อการนอนนั้นเป็นการนอนหลับอย่าง สนิทต่อเนื่องในห้องมืดเท่านั้น
สืบสาวเรื่องราวครอบครัว
มะเร็งหลายชนิดมักเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือพูดง่ายๆ ก็คือ โรคมะเร็ง สามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ ดังนั้น การได้ทราบว่าคนในครอบครัวของคุณ มีประวัติเจ็บป่วยด้วยมะเร็ง ชนิดใดถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง และควรแจ้งประวัติการเจ็บป่วย ของคนในครอบครัวให้แพทย์ทราบ เพื่อ แพทย์จะสามารถให้คำแนะนำ และดูแลคุณได้อย่างเหมาะสม
หลีกเลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย
สารจำพวก ยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซินนั้นเต็มไปด้วย สารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง แม้การควบคุมสิ่งแวดล้อม รอบตัวจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สาร เคมีเหล่านี้ ในบ้านหรือที่ทำงาน ย่อมเป็นการลดโอกาสในการ สัมผัสกับสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกันไฟ หรือ PBDE ซึ่งมักจะใช้ กับผ้าเฟอร์นิเจอร์และสินค้า อิเล็กโทรนิกต่างๆ ด้วยเช่นกัน
มะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร สาเหตุส่วนใหญ่มาจากไหน
การถ่ายทอดทางพันธุกรรม แต่ทั้งนี้ก็ไม่ได้หมายความว่าจะมีการถ่ายทอดเชื้อมะเร็งจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่งเสมอไป
เกิดจากความผิดปกติของร่างกาย อย่างเช่น โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว, ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือภาวะทุพโภชนาการที่เกิดจากภาวะที่ร่างกายได้รับอาหารผิดสัดส่วนทั้งขาดและเกิน ส่งผลให้ร่างกายเกิดความไม่สมดุล
สัมผัสหรือได้รับสารก่อมะเร็ง อย่างเช่น ผู้ที่สูบบุหรี่หรือดื่มสุราเป็นประจำ การได้รับเชื้อราที่มักจะปนเปื้อนมากับอาหารประเภทอัลฟาท็อกซิล การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานที่ใส่ดินประสิวเป็นประจำ ผู้ที่ชอบรับประทานอาหารรสเค็มจัดและอาหารส่วนที่ไหม้เกรียม ไปจนผู้ที่โดนแสงแดดจัดและได้รับรังสีอัลตราไวโอเลตเป็นเวลานานและเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง ก็ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งผิวหนังได้
พฤติกรรมที่ควรทำ และควรเลี่ยง เพื่อห่างไกลโรคมะเร็ง
งดสูบบุหรี่และอยู่ใกล้ผู้ที่สูบบุหรี่ รวมถึงหลีกเลี่ยงการดื่มสุราและเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
รับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการและรับประทานอาหารอย่างสมดุล โดยรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เลือกรับประทานผักผลไม้ที่หลากหลาย เน้นการรับประทานอาหารประเภทธัญพืชและอาหารที่มีเส้นใยมากขึ้น ลดการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
อย่ารับประทานอาหารที่หมดอายุหรือมีเชื้อรา
ลด หรืองดเว้นการรับประทานอาหารจำพวกปิ้ง ย่าง และหมักดอง
หลีกเลี่ยงการถูกแสงแดดหรืออยู่ในที่มีแสงแดดจัดเป็นเวลานาน ๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องหาอุปกรณ์เพื่อช่วยป้องกันร่างกายหรือผิวหนังจากแสงแดด และควรทาครีมกันแดดทั้งผิวหน้าและผิวกาย
ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ
ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เพียงพอ
หลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆที่ทำให้เกิดความเครียด
ตรวจร่างกายประจำปีเป็นประจำทุกปี
หากสงสัยว่าตัวเองมีอาการปกติซึ่งเป็นอาการของโรคมะเร็งควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยทันที